การใช้เครื่องวัดความดัน สอดแขนเมื่อมีอาการผิดปกติ

FDK FT-C25Y

เมื่อรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น อ่อนเพลีย เป็นลม หมดสติ ปวดท้อง ตกเลือด บวมตามร่างกาย ท้องเดิน อาเจียนมากๆ หรือ ตามัว เมื่อเป็นโรคเบาหวานหรือต่อมธัยรอยด์โต เมื่อได้รับอุบัติเหตุหรือร่างกายได้รับบาดเจ็บ อาจพบความดันต่ำในคนที่มีอาการตกเลือดจนเกิดภาวะ “ช็อค” ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ควรจะใช้เครื่องวัดความดัน สอดแขนตรวจวัดความดันเลือด ปีละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะในคนที่มีอายุ มากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพราะคนที่เป็นความดันเลือดสูง บางครั้งอาจไม่มีอาการอะไรมากก่อนเลยก็ได้

ขั้นตอนการวัดความดันโลหิต นั่ง หรือ นอนพัก ให้สบาย หายตื่นเต้น ประมาณ 5-10 นาที วัดความดันท่านอน ให้นอนหงาย วางแขนขนานกับลำตัวตามสบาย หงายฝ่ามือขึ้น วัดความดันท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ วางแขนที่จะวัดบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้น ท่านี้สะดวกในการวัดความดันด้วยตัวเอง วางเครื่องวัดความดัน สอดแขนให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ หันหน้าปัทม์ที่อ่านให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตา ไม่ควรวางไกลเกิน 3 ฟุต พันผ้ารอบแขน โดยจับปลายด้านที่มีสายยาง วางบนแขนด้านชิดกับลำตัว แล้วจึงพันส่วนที่เหลือไปเรื่อยๆ จนรอบแขน ให้ขอบล่างของผ้าพันแขน อยู่เหนือข้อศอกประมาณ 2 นิ้ว กรณีที่สวมเสื้อมีแขน ให้พับแขนเสื้อข้างนั้นขึ้นเหนือข้อศอก ประมาณ 5 นิ้ว ก่อนพันผ้าพันแขน กดปุ่ม START/STOP บนเครื่องวัดความดัน สอดแขนรอจนตัวเลขหยุดลงแล้วจึงอ่านค่า ภายหลังที่วัดความดันครั้งแรก แล้ว เพื่อความแน่นอนให้วัดซ้ำดูอีกครั้ง โดยเฉพาะถ้าพบว่า ความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ  หากใช้เครื่องวัดความดัน สอดแขนวัดความดันโลหิตแล้วอยู่ในช่วงที่สูงกว่าค่าปกติเพียงครั้งเดียว จะยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่หากมีการวัดความดันโลหิต 3 ครั้ง ในโอกาสที่แตกต่างกันแล้วยังได้ค่าที่สูงกว่าปกติทั้ง 3 ครั้ง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป หากวัดความดันโลหิตแล้วอยู่ในช่วงที่ต่ำกว่าค่าปกติ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากความดันต่ำมาก โดยค่าตัวบน-ตัวล่างต่างกันน้อยกว่า 30 (เช่น 80/60 ค่าต่างกัน 20) ควรรีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

This entry was posted in สุขภาพ and tagged . Bookmark the permalink.

Comments are closed.